ตับเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่มีการทำงานอย่างหนัก ตั้งแต่การขจัดสารพิษออกจากเลือด ปรับสมดุลในร่างกาย ผลิตน้ำดี ดูดซึมไขมันและกักเก็บวิตามิน แต่มีศัตรูตัวร้ายที่มาทำลายตับโดยที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว นั่นคือ “โรคไขมันพอกตับ” ทราบไหมว่ามีอัตราการเสียชีวิต 16,000 คนต่อปี ถือว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั่วไทย
ไขมันพอกตับคืออะไร
ไขมันพอกตับ หรือที่รู้จักในชื่อ Fatty Liver Disease เป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือจากปัจจัยสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวานและน้ำหนักเกิน ภาวะนี้มักไม่มีอาการในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่โรคตับที่ร้ายแรงขึ้น เช่น ตับอักเสบ หรือตับแข็งได้ “ตับ” ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงาน แต่เพราะไขมันสะสมที่มากเกินไป ส่งผลให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิต
ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
- อาหารไขมันสูง: อาหารทอด อาหารมัน ๆ ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว และผลไม้หวานปริมาณมาก
- อาหารแปรรูป: โซเดียม น้ำตาล และไขมันสูงส่งผลเสียต่อตับ
- เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล: กาแฟ ชานม และน้ำอัดลม
- ความเสียหายของเนื้อตับอย่างละเอียด และหาสาเหตุของ ภาวะไขมันพอกตับ เช่น ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ซี จะได้ทำการรักษาทันที
ไขมันพอกตับมีกี่ระยะ รักษาหายไหม
ไขมันพอกตับอยู่ในระยะเริ่มต้น (ระยะที่ 1-2)
สามารถปรับพฤติกรรม โดยการงดดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด! ทานอาหารที่มี ประโยชน์ไขมันต่ำจำพวก ผัก ผลไม้ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยลดไขมันในตับ หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ไขมันพอกตับอยู่ในระยะรุนแรง (ระยะที่ 3-4)
ปรับพฤติกรรมร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากมีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดการอักเสบและควบคุมระดับไขมันในตับ เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันความเสียหายของตับและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตรวจเลือดและอัลตราซาวนด์ เพื่อติดตามการรักษาและตรวจหาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับ
ไขมันพอกตับ เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพตับมีด้วยกัน 4 ระยะ ซึ่งสามารถรักษาได้ หากรู้เสียแต่เนิ่นๆ หากไม่อยากต้องเผชิญกับภาวะไขมันพอกตับสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย งดดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ยิ่งตรวจพบเร็ว ยิ่งรักษาได้ง่าย