Exotic Pet คือสัตว์อะไร หากคิดจะเลี้ยงต้องทำยังไงบ้าง

241

เมื่อพูดถึง Exotic Pet หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก หรืออาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสัตว์ป่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่จริงแล้วยังหมายถึงสัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สุนัข หรือแมว เช่นกระต่าย หนูแฮมสเตอร์ เต่า กระรอก ปลา ฯลฯ

Exotic Pet

Exotic Pet คือสัตว์อะไร

หากแปลตรงตัวก็มีความหมายว่า สัตว์แปลก ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ อาจจะเป็นสัตว์หายาก หรือสัตว์ป่า ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแตกต่างเป็นพิเศษ

สัตว์เลี้ยงประเภทนี้อาจจะนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไป สัตว์ที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมจนมีรูปร่างที่ต่างจากสายพันธุ์เดิมก็ได้ทั้งนั้น สำหรับสัตว์ที่มีพิษก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกันแต่ส่วนใหญ่ไม่นิยมเลี้ยง

Exotic Pet แบ่งเป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

สัตว์เลื้อยคลาน – เช่น สัตว์ตระกูลกิ้งก่า, งูคอร์นเสน็ค, เต่าซูคาต้า, อีกัวน่า, เป็นต้น

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ – เช่น กบสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง – เช่น สัตว์ประเภทด้วง หรือแมงมุมพันธุ์ต่าง ๆ

สัตว์ปีก – นกสายพันธุ์แปลก ๆ เช่น นกคอกคาเทล, นกแก้วมาคอร์

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม – เช่น แฮมสเตอร์, เมียร์แคท, สุนัขจิ้งจอก, แรคคูน, ชูการ์ไกลเดอร์ ฯลฯ

ปลา – เช่น ปลาปักเป้าฟาฮากา หรือปลาเทพา เป็นต้น

หากจะเลี้ยง Exotic Pet ต้องทำยังไง

สัตว์กลุ่มนี้เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างแปลก ไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไปอย่างแรกที่ควรทำก็คือศึกษาให้ข้อมูลว่าสัตว์ที่เราสนใจอยู่นั้นมีนิสัยยังไง ทานอาหารประเภทไหน ลักษณะการใช้ชีวิตตามธรรมชาติว่าเป็นอย่างไร หากเราจะเลี้ยงพื้นที่ที่เรามีเหมาะสมหรือไม่ หรือหากเรามีสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ อยู่จะเข้ากันได้ไหม มีอันตรายหรือเปล่า

ให้มองหาสถานพยาบาลที่สามารถรักษาเขาได้ควรมีหมอเฉพาะทาง เพราะการเลี้ยงสัตว์ย่อมหลีกเลี่ยงอาการป่วยไม่พ้น โรงพยาบาลสัตว์บางแห่งอาจดูแลได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้นดังนั้นอย่าละเลยเรื่องนี้เป็นอันขาด หากจะเลี้ยงแล้วต้องใส่ใจดูแลให้ดีที่สุด อย่าได้คิดเลี้ยงทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ หากไม่พร้อมอย่าเพิ่งเลี้ยงจะดีกว่า การเตรียมความพร้อมก็อาจจะต้องมากกว่าสัตว์เลี้ยงทั่วไป การรักษาเวลาสัตว์เจ็บป่วยก็เช่นกัน นอกจากมีเงินซื้อแล้ว ก็ยังต้องมีความรับผิดชอบที่มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปอีกด้วย

และที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของกฎหมาย Exotic Pet บางชนิดที่นำเข้าอาจจะถูกกฎหมายต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยอาจอยู่ในข่ายสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ต้องห้าม บางชนิดอาจต้องมีการขออนุญาตเลี้ยงจึงต้องจำเป็นพิจารณาหาข้อมูลเรื่องนี้ให้ดี